Tuesday, November 12, 2013

ต้องการเป็นอาสาสม้ครกู้ภัย?

มีหลายท่านต้องการที่จะเป็นอาสาสม้ครกู้ภัย รับใช้สังคม หรือประสานเหตุ แจ้งเหตุด่วน เหตุร้ายต่างๆ
กรณีนี้ต้องตรวจสอบดูว่า หน่วยงานกู้ภัย ทีท่านต้องการเข้าสังกัดนั้นใช้ย่านความถี่ใดในการทำงาน ประสานเหตุ รับแจ้งเหตุ

หน่วยกู้ภัย ที่ใช้ความถี่ย่านราชการ เช่นมูลนิธิปอเต๊กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู หน่วยงานเหล่านี้ใช้ย่านความถี่ราชการในการปฏิบัติงาน ประสานเหตุ (16x.xxx)
กรณีอย่างนี้ จะต้องยื่นใบสม้ครกับทางมูลนิธิ แล้วทางมูลนิธิจะนำไปอบรมการใช้งานวิทยุสื่อสาร เช่นเดียวกับอปพร. เมื่อผ่านการอบรมเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับอนุญาตให้ใช้และพกพาวิทยุสื่อสารราชการได้
หน่วยกู้ภัย ที่ไม่ใช้ความถี่ย่านราชการ ซึ่งใช้ความถี่ประชาชน 245 Mhz รับแจ้งเหตุ ประสานเหตุในหน่วยงาน
กรณีอย่างนี้ ให้ท่านจัดหาวิทยุสื่อสารย่านความถี่ประชาชน 245 Mhz (เครื่องสีแดง) ได้ทันที และให้ขอใบอนุญาตมีและใช้จากทางกสทช. หากต้องการติดตั้งที่บ้านหรือรถยนต์ ก็ต้องขอตั้งสถานีอีกต่างหาก เมื่อท่านได้ใบอนุญาตแล้ว ให้นำไปสมัครเป็นลูกข่ายกู้ภัย ต้นสังกัดที่ท่านต้องการเข้าปฏิบัติงาน
ดังนั้น หากท่านต้องการที่จะ ว.4 ด้านกู้ภัย ท่านไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องรอสอบ เพื่อเข้ารับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสม้ครเล่น เพราะในย่านสมัครเล่น จะไม่มีการปฏฺิบัติงานกู้ภัย มีช่องสัญญานแจ้งเหตุไว้ก็จริง แต่อาจไม่ทันการ

Monday, October 21, 2013

กสทช. อนุญาตให้ใช้คลื่น "ความถี่กลาง"

ในยามปกติ ฉุกเฉินหรือมีภัยพิบัติ ประชาชน สามารถใช้คลื่นความถี่เหล่านี้ติดต่อประสานงานกับ หน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ผู้ที่สามารถใช้วิทยุสื่อสารคือผู้ที่มีใบอนุญาต มีและใช้ วิทยุสื่อสารแล้ว

ย่าน ความถี่ หมายเหตุ
HF/SSB 4866 Khz, 4869 Khz Bandwidth 2.7 Khz , Max Power : 150W
7529 Khz, 7715Khz, 9916 Khz
VHF/FM  142.425 Mhz Bandwidth 16 Khz ,
Base power 60 W, Mobile 30W, Handy 5W
147.425 Mhz
161.475 Mhz
166.475 Mhz
UHF/FM 420.500 Mhz
425.500 Mhz
449.025 Mhz
454.025 Mhz
CB 27.155 Mhz Bandwidth 10 Khz , Max Power : 20W
27.215 Mhz
CB 78..500 Mhz Bandwidth 12.5 Khz, 25 Khz , Base or Mobile : 10W , Handy 5W
245.500 Mhz
AR 145.000 Mhz Bandwidth 12.5 Khz , Base 60W , Mobile 10W , Handy 5W

Thursday, October 17, 2013

ปรับวัตต์ Spender TM-481DTV

ทดลองปรับแต่งวัตต์ Spender TM-481DTV 
หมายเหตุ : เป็นการปรับแต่งเพื่อการทดสอบและศึกษาเท่านั้น หากเกิดความเสียหายใดๆขึ้นอยู่กับวิจารณญานของท่านเอง
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้

  1. SWR & Power Meter สำหรับวัดค่ากำลังส่ง
  2. สายทอน (สายคู) สายนำสัญญานเส้นสั้นๆ พร้อมเข้าหัวเรียบร้อย
  3. ไขควงดอกจัน สำหรับเปิดฝาครอบเครื่อง
  4. ไขควง 4 แฉกขนาดเล็ก
จับเครื่องหงายท้อง เปิดฝาครอบเครื่องด้วย ไขควงดอกจัน (การเปิดฝาครอบเครื่องจะทำให้ประกันฯของท่านหมดสิ้นลง) 

R ปรับค่าได้ภายในวงกลมสีแดง
ก่อนการปรับแต่งอาจใช้ปากกาสี มาร์คตำแหน่งไว้ก่อนก็ได้  แล้วใช้ไขควงแฉก ค่อยๆหมุนปรับแต่งค่าโดยเริ่มหมุนทวนตามเข็มนาฬิกาทีละนิด
เสียบสายคูและวิทยุเข้ากับ SWR Meter แล้วเปิดเครื่องทดสอบวัดกำลังส่งดู ถ้าวัตต์ลดลง ก็ให้หมุนปรับค่าไปทิศทางตรงกันข้าม ค่อยๆปรับค่าจนกระทั่งได้วัตต์ตามที่ต้องการ สำหรับผมเครื่องนี้จากเดิม วัตต์อยู่ที่ 45 วัตต์ ทดสอบปรับแต่งดู วัดกำลังส่งได้ถึง 80 วัตต์ ที่ 13.8V ครับ
ขอบคุณข้อมูลการปรับแต่งจากเว็บบอร์ด hamsiam.com


Monday, October 14, 2013

เลือกซื้อวิทยุสื่อสาร สำหรับมือใหม่

ผมก็มือใหม่ เลือกซื้อวิทยุสื่อสารเป็นเครื่องแรกในชีวิต จะเลือกแบบไหนดี? เมื่อสอบผ่านได้รับใบอนุญาตินักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จ้องจะซื้อวิทยุสื่อสารกันทันที ควรเลือกแบบไหนที่เหมาะสม คุ้มค่ากับเงินของเรา?

Friday, October 11, 2013

วงจร Anytone AT588

ผังวงจรของ Anytone AT-588 ฝาแฝดสเปนเดอร์

Thursday, September 5, 2013

การใช้ Zello เบื้องต้น

โปรแกรมเซลโล Zello คือโปรแกรมพูดคุยกันในแบบวิทยุสื่อสาร (ผลัดกันพูดคุย) ผ่านทางระบบ Internet ทั้ง Wifi และ 3G มีให้ Download ทั้ง iphone และ Android ตัวอย่างเป็นระบบ Android

Wednesday, August 28, 2013

วิทยุสื่อสาร MS Marshal MS-12 245 Mhz ราคาถูก

วิทยุสื่อสาร MS Marshal MS-12 ความถี่ประชาชน 245 Mhz ราคาถูก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเล่นมาก เสียงดังจริงๆ มีปท.ขออนุญาตมีและใช้ได้อย่างถูกต้องได้เลย ราคาเครื่อง 2,000 บาท คุณภาพงานก็ตามสภาพและราคา ลองเปรียบเทียบดูกับยี่ห้ออื่นๆที่จะทะยอยลงให้ดูต่อไป

Saturday, July 27, 2013

Baofeng UV-5R Review and Set-Up



สุดยอดวิทยุสื่อสารจีน แห่งยุคจริงๆ ดังไปทั่วโลก ฝรั่งตื่นเต้นกันมากเพราะราคามันถูกเหลือเกิน แถมยังสารพัดประโยชน์อีกด้วย

ความถี่วิทยุสมัครเล่นกรุงเทพและปริมณฑล

กรุงเทพมหานคร
145.6750 สมาคมฯอาสาสมัคร HS1AB
144.9000 แจ้งเหตุฯ HS1AB
144.4125 กลุ่ม มดตานอย
144.6000 ชมรมฯ ม.ธุรกิจบัณฑิต
144.9875 ชมรมฯ ราชพฤกษ
144.450 ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นกรุงเทพ19สัมพันธ์
144.4625 ชมรมฯ ม.เกษตรศาสตร์
144.8250 ชมรมนักวิทยุสื่อสารลูกเสืออาสากีรติ 9
144.7500 ชมรมฯ อาสาสมัครพร้อมทีม
144.5375 กลุ่มวีอาร์สัมพันธ์ 1
145.3750 56 รวมใจ เอ.อาร์.สัมพันธ
145.4500 Dindaeng Group
144.5625 กลุ่มนักวิทยุ มิตรภาพเลี้ยวขวา
144.300 กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นทักษิณสัมพันธ์
144.6875 กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นต้นกล้า
144.2000 กลุ่มหัวใจสองห้อง

สมุทรปราการ
145.6500 สมาคมฯ จ.สมุทรปราการ HS1AM
145.8000 สมาคมฯ จ.สมุทรปราการ HS1AM
144.8000 สมาคมนักวิทยุสมัครเล่น จ.สมุทรปราการ
144.1375 ผึ้งสุวรรณภูมิ
145.3250 กลุ่มบางหัวเสือ
144.7500 กลุ่มเพื่อนสะตอ
144.7250 กลุ่มเพื่อนทางไกล
144.9000 ชมรม VR อาสาสมัครศูนย์ชำนิ
144.9875 ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น บางปูสัมพันธ์
145.3000 ชมรมฯ บางพลี
144.7125 ชมรมฯ ประสานใจ
145.4500 ชมรมฯ บางเสาธง
144.1375 ชมรมฯ ผึ้งสุวรรณภูมิ
145.4000 ชมรมฯ พระประแดง
144.1375 ชมรมฯ ปลาสลิด บางบ่อ
145.5500 Echolink
CB-24500 เครื่อง 80 ช่อง ใช้ช่อง 41 , เครื่อง 40 ช่อง ใช้ ช่อง 21

จ.นนทบุรี
144.5750 กลุ่มเพื่อน FRIENDS GROU
144.3875 ชมรมฯ หม้อดิน
144.6000 ดอกบัวสัมพันธ์
144.7000 ชมรม กฟภ.แห่งประเทศไทย
145.4125 กลุ่มวิทยุสมัครเล่นเพื่อการศึกษา

จ.ปทุมธานี
144.3275 ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นและวิทยุซีบี245Mhz
144.2375 ชมรมฯมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
145.4125 นักวิทยุฯ เพื่อการศึกษา
144.2625 ชมรม ปลอดภัยปทุมธานี
145.3125 ชมรม สายใยสัมพันธ์ปทุมธานี
145.4500 59 นวสัมพันธ์
144.4125 Dxer’s Group
144.1250 กลุ่มรังสิตสัมพันธ์
144.0750 กลุ่มแฮมส์ 39 ปทุมธานี(ศูนย์รายงานสถานการณ์)
144.4625 รังสิตสัมพันธ์  
144.1250 ควบคุมข่ายปทุมธานี HS1AP 


ที่มา www.hamsiam.com

สำนักผลิตเสาอากาศวิทยุสื่อสาร

เสาอากาศ (คนในวงการเรียกสายอากาศ) อุปกรณ์สำคัญที่สุดก็ว่าได้ วิทยุถูกๆจีนๆ ส่งได้แค่ 3 Watt 4 Watt แต่ถ้าได้เสาอากาศดีๆ ละก็สามารถส่งออกได้ยอดเยี่ยม รับได้ชัดเจนอย่างคาดไม่ถึง รวบรวมมาไว้เฉพาะที่ยังผลิตอยู่ เพื่อการบันทึกมีหลายสำนักดังนี้

Y.K.T ผลิตเสาอากาศแบบรอบตัว หลายรุ่นหลายขนาดให้เลือก เหมาะสำหรับการใช้งานในเมือง ที่มีเพื่อนฝูงอยู่รอบทิศทาง เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ติดตั้งเสาจำกัด

กิมใช้ ผลิตเสาอากาศแบบยากิ ยิงได้ไกลที่สุดในบรรดาเสาอากาศแต่ได้ในเฉพาะทิศทางที่ต้องการเท่านั้น โฟลเด็ดไดโพล หรือไดกิ เสาอากาศกึ่งรอบตัวทิศทางด้านหน้าจะไกลเป็นพิเศษ

HS5ZBK ผลิตเสาอากาศแบบยากิ ยิงได้ไกลที่สุดในบรรดาเสาอากาศแต่ได้ในเฉพาะทิศทางที่ต้องการเท่านั้น โฟลเด็ดไดโพล หรือไดกิ เสาอากาศกึ่งรอบตัวทิศทางด้านหน้าจะไกลเป็นพิเศษ

ClubStation ผลิตเสาอากาศสารพัดสไตล์หลายรูปแบบมาแต่โบราณ

Silver ไม่มีเว็บไซต์ระบุไว้

Wednesday, July 24, 2013

Callsign ราชพฤกษ์ One Rescue

ถ้าท่านมีวิทยุสื่อสารเครื่องแดง CB 245 Mkz มีความประสงค์จะขอขอ Call sign ราชพฤกษ์ XX-XX ของ One Rescue เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารกับทางเครือข่าย

ให้ติดต่อไปที่ 02-432-0991 หรือ 085-211-1191 แจ้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ตามบัตรประชาชน เลขที่บัตรประชาชน ถ้ามี Call sign ของทางวิทยุสมัครเล่นให้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย เจ้าหน้าที่จะลงบันทึกและแจ้ง Callsign ให้ท่าน

Sunday, July 14, 2013

อุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับ นักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่

สำหรับกรณีที่ได้รับประกาศนียบัตรและขอ Call Sign เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถซื้อหาวิทยุสื่อสารมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ถ้ายังไม่มี Call Sign สามารถยื่นขอได้พร้อมกับระบุเครื่องวิทยุสื่อสารที่เราต้องการใช้งานได้ไปพร้อมกัน


  1. วิทยุสื่อสารจะเป็นแบบ Handy หรือ Mobile ก็แล้วแต่งบประมาณ ต้องมีปท.เพื่อนำไปจดทะเบียนกับทางกสทช.ได้ ถ้าไม่มีทะเบียนก็ต้องใช้งานอย่างหลบๆซ่อนๆ แม้จะมีใบอนุญาติวิทยุสมัครเล่นแล้วก็ตาม เครื่องในแบบโมบายหากนำมาติดตั้งในรถยนต์หรือบ้านก็ต้องขออนุญาติให้ถูกประเภทเช่นกัน
  2. Handy
    Mobile
  3. เสาอากาศ ถ้าเป็นเครื่องมือถือ (Handy) จะได้เสายางติดเครื่องมา ส่งออกลำบากมาก ต้องใช้เสาชัก หรือจะเป็นเสาอากาศแบบติดตั้งประจำที่เลยจะดีมาก ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ควรซื้อสำเร็จรูปพร้อมใช้งานมาก่อน อย่าเพิ่งทดสอบสร้างเอง ยกตัวอย่างที่นิยมกันเวลานี้
    • เสา 5/8 แลมด้า เป็นแบบรอบตัว เหมาะสำหรับใช้งานในเมือง
    • เสาโฟลเด็ด ไดโพล เป็นแบบกึ่งรอบตัว ต้องหันไปในทิศทางที่เราต้องการ เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่นอกเมือง ต้องการติดต่อกับในเมือง
    • เสายากิ เป็นแบบเจาะจงทิศทาง ยิงไปยังเป้าหมายที่แน่นอน
    • ย่านความถี่ที่เราต้องการใช้งานต้องระบุให้ตรงสเปคของเสาอากาศด้วย
    • ขั้วต่อให้ตรงกับวิทยุของเราซึ่งมีทั้ง BNC SMA ตัวผู้ตัวเมียเยอะแยะมากมาย
    • ยี่ห้อสำคัญมาก ของถูกและดีไม่มีในโลก อาจใช้ได้ดีแต่ไม่ทนทาน ยี่ห้อดังๆ Diamond Comet Laird ควรพิจารณา
     
  4.  กรณีติดตั้งประจำบ้าน ควรต้องมี "หม้อแปลง" เพื่อป้อนกระแสให้กับเครื่องอย่างเพียงพอ ปกติไฟฟ้าภายในบ้านจะมีกระแส 5A -15A ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเราที่ใช้งานอีก ซึ่งอาจไม่เพียงพอ ก็ต้องใช้หมอแปลงมาเพื่อเพิ่มกระแส จะส่งได้ระยะไกลมากขึ้น
  5. ส่วนเครื่องแดง ความถี่ประชาชนก็ใช้หลักการเดียวกัน ต่างกันเพียงแค่ไม่ต้องมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่น มีเพียงใบอนุญาตให้ใช้เครื่องเท่านั้น ซื้อเครื่องมาพร้อมใบอนุญาตเลย (เอาเอกสารไปให้ร้านดำเนินการให้เสร็จสรรพ)

การใช้ Repeater ในการรับและส่งข้อความ

วิทยุสมัครเล่นมีการตั้ง Repeater เอาไว้มากมายเพื่อให้การส่งข้อความถึงกันได้โดยมีตัวถ่ายทอดต่อ ซึ่งจะต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้ตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบสำรองไฟหากไฟดับยังสามารถทำงานอยู่ได้

เมื่อเราต้องการส่งวิทยุไปยัง Repeater ก็ต้องตั้งความถี่ให้ถูกต้อง เช่นสถานีเป้าหมายที่เราจะส่งข้อความไปมีความถี่เป็น 145.7000 ให้ -600 = 145.1000 หมายถึง
รับฟังสถานีนี้ได้ที่ความถี่ 145.7000 Mkz
ส่งข้อความไปสถานีนี้ที่ความถี่ 145.1000 Mkz

เมื่อไปตั้งค่าความถี่ที่วิทยุของเรา เวลาเราเฝ้าฟังก็จะแสดงตัวเลข 145.7000 เมื่อเรากดส่งข้อความตัวเลขความถี่จะกลายเป็น 145.1000 โดยอัตโนมัติ

ทดสอบในเครืองมือถือ เมื่อเราตั้งความถี่ที่เป็น Repeater เอาไว้ ลองกดส่งข้อความ ตัวเลขที่หน้าปัดจะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ


Tuesday, July 9, 2013

ระบบ CTCSS/DCS คือ การส่งรหัสไปกับคลื่น

CTCSS "Continuous Tone Coded Squelch System" แปลตรงๆก็ตือระบบการส่งรหัสเสียงไปพร้อมกับคลื่นวิทยุ โดยเป็นเสียงความถี่ต่ำที่หูไม่สามารถได้ยินได้ ซึ่งวิทยุเครื่องอื่นที่มีรหัสเสียงไม่ตรงกันจะไม่สามารถรับได้ การเข้ารหัสแบบนี้นิยมใช้กันใน Repeater ของวิทยุสมัครเล่น เพื่อป้องกันการแทรกคลื่น เมื่อรีพีทเตอร์เปิดระบบ CTCSS มันจะไม่ยอมรับคลื่นอื่นๆที่่มีรหัสไม่ตรงกันเข้ามา เมื่อเราจะส่งข้อความไปยังรีพีทเตอร์เครื่องนี้ เราก็ต้องตั้ง CTCSS ให้ตรงกับมันด้วยถึงจะส่งข้อความเข้าไปหามันได้

หรือจะใช้วิทยุสื่อสารกันเฉพาะในกลุ่มก็ได้ โดยวิทยุสื่อสารแต่ละเครื่องในกลุ่มจะต้องใช้งานระบบนี้ได้ ก็ให้ตั้ง CTCSS ให้ตรงกันทุกเครื่อง ก็จะสามารถสื่อสารกันเฉพาะในกลุ่มได้ โดยที่ไม่มีคนอื่นเข้ามาแทรกได้

ส่วน DCS นั้นต่างกับ CTCSS คือเป็นการส่งรหัสเสียงแบบ Analog ไปพร้อมกับคลื่น ส่วน DCS คือเป็น Digital วัตถุประสงค์เดียวกันคือผู้รับผู้ส่งจะต้องมีรหัสตรงกันจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้

Saturday, June 29, 2013

การเลือกซื้อ วิทยุสื่อสารแบบต่างๆ เบื้องต้น

วิทยุสื่อสารที่จำหน่ายกันในท้องตลาดบ้านเรา มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ หลายชนิด แบ่งตามประเภทดังนี้
  • วิทยุสมัครเล่น(สีดำ) ความถี่ 144 Mhz - 146 Mhz 
    • มือถือ (Hand Held)
    • เคลื่อนที่ (Mobile) ติดตั้งในรถยนต์ 
    • ติดตั้งอยู่กับที่ (Station)  ติดตั้งอยู่ในอาคาร
      - ต้องมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่น มีCallsign
      - วิทยุสื่อสารต้องมีทะเบียน กสทช. กำกับ
      - ต้องขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสารเครื่องดังกล่าว
  • วิทยุราชการ (สีดำ-สังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) ความถี่ 136 Mhz - 174 Mhz
             
    - ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้งาน ไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ขออนุญาตใดๆไม่ได้
      • เครื่องที่ระบุว่าเป็นเครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 หมายถึงเครื่องที่เราสามารถปรับตั้งความถี่ได้เองจากหน้าปัทม์
      • เครื่องที่ระบุว่าเป็นเครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 หมายถึงเครื่องที่เราไม่สามารถปรับตั้งความถี่ได้ คือล็อคมาแล้ว ต้องใช้ Software ในการแก้ไขความถี่
  • วิทยุประชาชน (Citizen Band) (เครื่องสีแดง)  ความถี่ 245 Mhz
    • มือถือ (Hand Held)
    • เคลื่อนที่ (Mobile) ติดตั้งในรถยนต์
      - ไม่ต้องมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่น ไม่ต้องมี Callsign
      - วิทยุสื่อสารต้องมีทะเบียน กสทช.กำกับ
      - ต้องขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสารเครื่องดังกล่าว
  • วิทยุแอร์แบนด์ (Aviation Radio) ความถี่ 118 Mhz - 136 Mhz- ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้งานไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ขออนุญาตใดๆไม่ได้
  • วิทยุสื่อสาร แบบรับ - ส่งได้หลายย่านความถี่ (Multi-Band)
    • 144 Mhz - 146 Mhz / 136 Mhz - 174 Mhz หมายถึงรับได้ทั้งคลื่นวิทยุสมัครเล่นและคลื่นราชการ (ขออนุญาตไม่ได้ ราชการเท่านั้น)
      ปกติ เครื่องย่านความถี่ 136 Mhz - 174 Mhz จะใช้งาน 144 Mhz - 146 Mhz ได้อยู่แล้ว
    • 136 Mhz -174 Mhz / 245 Mhz หมายถึง รับ - ส่งคลื่นประชาชนได้ด้วย (Citizen Band)  (ขออนุญาตไม่ได้ ราชการเท่านั้น) 
      ดู Spec. เพราะบางรุ่นรับ-ส่งได้ทั้ง 2 ย่านความถี่ บางรุ่นรับ-ส่งได้ย่านเดียว อีกย่านใช้เฝ้าฟัง (Standby) เท่านั้น
      * ความถี่ 144 Mhz -146 Mhz / 245 Mhz  ในเครื่องเดียวกันไม่เห็นมีจำหน่าย
      ****แก้ข่าว ตอนนี้มีของ Msmarshal
วิทยุสื่อสารมักตั้งชื่อรุ่นตามย่านความถี่ ต้องดูรายละเอียดประกอบด้วยเช่น 
  • VHF คือ ความถี่ตั้งแต่ 30 Mhz - 300 Mhz ซึ่งครอบคลุมทั้งวิทยุสมัครเล่น วิทยุราชการ วิทยุคลื่นประชาชน 
  • UHF คือ ความถี่ตั้งแต่ 300 Mhz - 3000 Mhz ซึ่งหมายถึงวิทยุในย่านความถี่ 435 MHz - 438 MHz (ติดต่อผ่านดาวเทียม สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นชั้นกลาง)
สรุปคือ 
* ถ้าจะซื้อวิทยุสื่อสารโดยไม่ต้องสอบขอใบอนุญาต ก็ต้องซื้อเครื่องสีแดงที่มีปท. แล้วไปขออนุญาตใช้เครื่องเท่านั้น
* ถ้าจะซื้อวิทยุสื่อสารเครื่องดำคลื่นของนักวิทยุสมัครเล่น ก็ต้องซื้อเครื่องที่มีปท. นำเข้าอย่างถูกต้องและต้องสอบขอใบอนุญาต และต้องเอาเครื่องนั้นไปขออนุญาตใช้ด้วย

Sunday, June 9, 2013

การอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

การจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น จัดโดยกสทช.ร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดต่างๆ เปิดทำการอบรมและสอบภายในวันเดียว ตามตารางนี้