Sunday, July 14, 2013

อุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับ นักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่

สำหรับกรณีที่ได้รับประกาศนียบัตรและขอ Call Sign เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถซื้อหาวิทยุสื่อสารมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ถ้ายังไม่มี Call Sign สามารถยื่นขอได้พร้อมกับระบุเครื่องวิทยุสื่อสารที่เราต้องการใช้งานได้ไปพร้อมกัน


  1. วิทยุสื่อสารจะเป็นแบบ Handy หรือ Mobile ก็แล้วแต่งบประมาณ ต้องมีปท.เพื่อนำไปจดทะเบียนกับทางกสทช.ได้ ถ้าไม่มีทะเบียนก็ต้องใช้งานอย่างหลบๆซ่อนๆ แม้จะมีใบอนุญาติวิทยุสมัครเล่นแล้วก็ตาม เครื่องในแบบโมบายหากนำมาติดตั้งในรถยนต์หรือบ้านก็ต้องขออนุญาติให้ถูกประเภทเช่นกัน
  2. Handy
    Mobile
  3. เสาอากาศ ถ้าเป็นเครื่องมือถือ (Handy) จะได้เสายางติดเครื่องมา ส่งออกลำบากมาก ต้องใช้เสาชัก หรือจะเป็นเสาอากาศแบบติดตั้งประจำที่เลยจะดีมาก ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ควรซื้อสำเร็จรูปพร้อมใช้งานมาก่อน อย่าเพิ่งทดสอบสร้างเอง ยกตัวอย่างที่นิยมกันเวลานี้
    • เสา 5/8 แลมด้า เป็นแบบรอบตัว เหมาะสำหรับใช้งานในเมือง
    • เสาโฟลเด็ด ไดโพล เป็นแบบกึ่งรอบตัว ต้องหันไปในทิศทางที่เราต้องการ เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่นอกเมือง ต้องการติดต่อกับในเมือง
    • เสายากิ เป็นแบบเจาะจงทิศทาง ยิงไปยังเป้าหมายที่แน่นอน
    • ย่านความถี่ที่เราต้องการใช้งานต้องระบุให้ตรงสเปคของเสาอากาศด้วย
    • ขั้วต่อให้ตรงกับวิทยุของเราซึ่งมีทั้ง BNC SMA ตัวผู้ตัวเมียเยอะแยะมากมาย
    • ยี่ห้อสำคัญมาก ของถูกและดีไม่มีในโลก อาจใช้ได้ดีแต่ไม่ทนทาน ยี่ห้อดังๆ Diamond Comet Laird ควรพิจารณา
     
  4.  กรณีติดตั้งประจำบ้าน ควรต้องมี "หม้อแปลง" เพื่อป้อนกระแสให้กับเครื่องอย่างเพียงพอ ปกติไฟฟ้าภายในบ้านจะมีกระแส 5A -15A ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเราที่ใช้งานอีก ซึ่งอาจไม่เพียงพอ ก็ต้องใช้หมอแปลงมาเพื่อเพิ่มกระแส จะส่งได้ระยะไกลมากขึ้น
  5. ส่วนเครื่องแดง ความถี่ประชาชนก็ใช้หลักการเดียวกัน ต่างกันเพียงแค่ไม่ต้องมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่น มีเพียงใบอนุญาตให้ใช้เครื่องเท่านั้น ซื้อเครื่องมาพร้อมใบอนุญาตเลย (เอาเอกสารไปให้ร้านดำเนินการให้เสร็จสรรพ)

No comments:

Post a Comment