Saturday, June 29, 2013

การเลือกซื้อ วิทยุสื่อสารแบบต่างๆ เบื้องต้น

วิทยุสื่อสารที่จำหน่ายกันในท้องตลาดบ้านเรา มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ หลายชนิด แบ่งตามประเภทดังนี้
  • วิทยุสมัครเล่น(สีดำ) ความถี่ 144 Mhz - 146 Mhz 
    • มือถือ (Hand Held)
    • เคลื่อนที่ (Mobile) ติดตั้งในรถยนต์ 
    • ติดตั้งอยู่กับที่ (Station)  ติดตั้งอยู่ในอาคาร
      - ต้องมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่น มีCallsign
      - วิทยุสื่อสารต้องมีทะเบียน กสทช. กำกับ
      - ต้องขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสารเครื่องดังกล่าว
  • วิทยุราชการ (สีดำ-สังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) ความถี่ 136 Mhz - 174 Mhz
             
    - ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้งาน ไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ขออนุญาตใดๆไม่ได้
      • เครื่องที่ระบุว่าเป็นเครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 หมายถึงเครื่องที่เราสามารถปรับตั้งความถี่ได้เองจากหน้าปัทม์
      • เครื่องที่ระบุว่าเป็นเครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 หมายถึงเครื่องที่เราไม่สามารถปรับตั้งความถี่ได้ คือล็อคมาแล้ว ต้องใช้ Software ในการแก้ไขความถี่
  • วิทยุประชาชน (Citizen Band) (เครื่องสีแดง)  ความถี่ 245 Mhz
    • มือถือ (Hand Held)
    • เคลื่อนที่ (Mobile) ติดตั้งในรถยนต์
      - ไม่ต้องมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่น ไม่ต้องมี Callsign
      - วิทยุสื่อสารต้องมีทะเบียน กสทช.กำกับ
      - ต้องขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสารเครื่องดังกล่าว
  • วิทยุแอร์แบนด์ (Aviation Radio) ความถี่ 118 Mhz - 136 Mhz- ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้งานไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ขออนุญาตใดๆไม่ได้
  • วิทยุสื่อสาร แบบรับ - ส่งได้หลายย่านความถี่ (Multi-Band)
    • 144 Mhz - 146 Mhz / 136 Mhz - 174 Mhz หมายถึงรับได้ทั้งคลื่นวิทยุสมัครเล่นและคลื่นราชการ (ขออนุญาตไม่ได้ ราชการเท่านั้น)
      ปกติ เครื่องย่านความถี่ 136 Mhz - 174 Mhz จะใช้งาน 144 Mhz - 146 Mhz ได้อยู่แล้ว
    • 136 Mhz -174 Mhz / 245 Mhz หมายถึง รับ - ส่งคลื่นประชาชนได้ด้วย (Citizen Band)  (ขออนุญาตไม่ได้ ราชการเท่านั้น) 
      ดู Spec. เพราะบางรุ่นรับ-ส่งได้ทั้ง 2 ย่านความถี่ บางรุ่นรับ-ส่งได้ย่านเดียว อีกย่านใช้เฝ้าฟัง (Standby) เท่านั้น
      * ความถี่ 144 Mhz -146 Mhz / 245 Mhz  ในเครื่องเดียวกันไม่เห็นมีจำหน่าย
      ****แก้ข่าว ตอนนี้มีของ Msmarshal
วิทยุสื่อสารมักตั้งชื่อรุ่นตามย่านความถี่ ต้องดูรายละเอียดประกอบด้วยเช่น 
  • VHF คือ ความถี่ตั้งแต่ 30 Mhz - 300 Mhz ซึ่งครอบคลุมทั้งวิทยุสมัครเล่น วิทยุราชการ วิทยุคลื่นประชาชน 
  • UHF คือ ความถี่ตั้งแต่ 300 Mhz - 3000 Mhz ซึ่งหมายถึงวิทยุในย่านความถี่ 435 MHz - 438 MHz (ติดต่อผ่านดาวเทียม สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นชั้นกลาง)
สรุปคือ 
* ถ้าจะซื้อวิทยุสื่อสารโดยไม่ต้องสอบขอใบอนุญาต ก็ต้องซื้อเครื่องสีแดงที่มีปท. แล้วไปขออนุญาตใช้เครื่องเท่านั้น
* ถ้าจะซื้อวิทยุสื่อสารเครื่องดำคลื่นของนักวิทยุสมัครเล่น ก็ต้องซื้อเครื่องที่มีปท. นำเข้าอย่างถูกต้องและต้องสอบขอใบอนุญาต และต้องเอาเครื่องนั้นไปขออนุญาตใช้ด้วย

Sunday, June 9, 2013

การอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

การจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น จัดโดยกสทช.ร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดต่างๆ เปิดทำการอบรมและสอบภายในวันเดียว ตามตารางนี้